ความมุ่งมั่นเพื่อขจัดปัญหาเครื่องจักรเสียให้เป็นศูนย์ สิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้สำหรับบริษัทที่ดำเนินกิจการโดยใช้เครื่องจักรผลิตสินค้า ก็คือ การบำรุงรักษาเครื่องจักและอุปกรณ์ให้ทำงานได้ในอัตราสูงสุดอยู่ตลอดเวลา เพราะจะเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ ราคา ปริมาณ และการส่งมอบสินค้านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่จำเป็นต้องทำมากที่สุด คือ การลดปัญหาของเครื่องที่เสียให้เป็นศูนย์ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญที่พนักงานทุกๆ คนจากทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือร่วมใจกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายนี้ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์นั้นเอง โดยเครื่องจักรแต่ละอุปกรณ์ต่างๆ นั้นจะต้องอยู่ในสภาพดังต่อไปนี้
- อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
- ทำงานในสภาพปกติตลอดเวลาในการใช้งาน
- ทำงานในสภาพที่ปกติอย่างต่อเนื่อง
โดยสิ่งที่จะขัดขวางไม่ให้เครื่องจักรและอุปกรณ์อยู่ในสภาพดังกล่าวก็คือ การสูญเสีย 6 ประการ ด้วยกันซึ่งประกอบไปด้วย
- เครื่องจักรเสียกะทันหัน
- การตั้งเครื่อง หรือการปรับเครื่องในการใช้งาน
- เครื่องจักรหมุนเปล่า เครื่องหยุดบ่อยๆ
- ความเร็วในการทำงานลดลง
- กระบวนการผลิตไม่ดี
- ผลผลิตลดลง
โดยจากการสูญเสีย ทั้ง 6 ประการที่กล่าวมานี้ ล้วนทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์นั้นสูญเสียไปโดยเปล่าวประโยชน์ได้ถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์เลยก็ว่าได้ครับ
ตัวอย่าง ปัญหาเครื่องจักรเสียเนื่องจากการทำงานตามหน้าที่ลดลง
การทำงานตามหน้าที่ลดลง ก็คือ การที่เครื่องจักรและอุปกรณ์แต่ละส่วนนั้นค่อยๆ เกิดการสึกหรอลงทีละน้อย ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เครื่องจักรเสีย ซึ่งได้แก่
- การตั้งเครื่อง การปรับเครื่องต้องใช้เวลานานกว่าปกติ
- ปล่อยให้เครื่องหมุนเปล่าอยู่บ่อยๆ ในขณะที่เครื่องไม่มีชิ้นงาน หรือเครื่องเกิดหยุดบ่อยๆ
- อัตราการทำงานลดต่ำลง
- เวลาผลิต วงจรการผลิตใช้เวลานานกว่าปกติ
- ผลผลิตเริ่มลดลง
สภาพกรณีดังกล่าวที่ได้กล่าวมานี้ สามารถเป็นตัวทำให้ความสูญเสียขยายตัวไปเรื่อยๆ นอกจากนี้เครื่องจักรเสียที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เนื่องมาจากความสีกหรอของแต่ละส่วนที่ลุกลามไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสภาพนั้นแสดงมาออกมาในทันทีทันใด ฯลฯ
ตัวอย่าง ขั้นตอนและหลักสำคัญในการพัฒนาการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเอง
การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเอง นั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่การขจัด เศษผง ฝุ่นละออง สิ่งแปลกปลอม และสิ่งสกปรกเท่านั้นน่ะครับ แต่ในขณะที่มีการทำความสะอาด เราจะต้องได้สัมผัสกับเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยตรง จึงสามารถสังเกตดูชิ้นส่วนต่างๆได้อย่างละเอียด ทำให้สามารถพบข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ซ่อนอยู่ เช่น การสึกหรอของชิ้นส่วนอะไหล่ภายในตัวเครื่องจักร การสั่นครอน หลวม รูปร่างที่เปลี่ยนไปของอุปกรณ์ภายใน เป็นต้น ซึ่งการขจัดข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ถือว่าเป็นการป้องกันก่อนที่ปัญหานั้นจะลุกลามกลายมาเป็นปัญหาใหญ่นั้นเอง ซึ่งขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเองก็ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 : เริ่มทำความสะอาดในระยะเริ่มแรก
ขั้นตอนที่ 2 : หาวิธีป้องกันแก้ไขที่ต้นเหตุและจุดที่มีความยุ่งยากลำบาก
ขั้นตอนที่ 3 : กำหนดกฏเกณฑ์ในการทำความสะอาด และการเติมน้ำมัน
ขั้นตอนที่ 4 : การตรวจสอบรวม
ขั้นตอนที่ 5 : การตรวจสอบด้วยตัวเอง
ขั้นตอนที่ 6 : เซริและเซตง
ขั้นตอนที่ 7 : การจดให้มีการควบคุ่มด้วยตัวเองอย่าทั่วถึง