กรณีศึกษา การย้ายฐานการผลิต ไปยังแหล่งต้นทุนต่ำ
admin
มิถุนายน 24, 2015
หมวดหมู่ทั้งหมด
1,829 Views
SPONSORED LINKS

การย้ายฐานการผลิต (Off-Shoring And Low Cost Sourcing) เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน โดยต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆด้วย โดยเฉพาะปัจจัยที่จะมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัทด้วย เช่น ความสามารถของแรงงาน , ระบบขนส่งในประเทศนั้นๆ ,การส่งเสริมจากภาครัฐ ,ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศนั้น เป็นต้น และยังต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะมีผลทำให้บริษัทของเราเสียหายได้ เช่น เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น ไม่ควรมุ่งประเด็นไปที่ต้นทุนต่ำเพียงอย่างเดียว
กรณีศึกษา ฟอร์ด เตรียมปิดโรงงานการผลิตในฟิลิปินส์ ปีหน้าย้ายการผลิตมาไทย
บริษัทฟอร์ด ฟิลิปปินส์ เตรียมปิดโรงงานในจังหวัดลากูน่า ทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ในปีหน้า โดยโรงงาน Sta. Rosa จะไม่ประกอบรถฟอร์ด เนื่องจากฐานอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ และขนาดของเศรษฐกิจปีเตอร์ ฟลีท ประธานประจำอาเซียนของบริษัท ฟอร์ด มอมเตอร์ ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาและรถของฟอร์ดที่มีการจำหน่ายในฟิลิปปินส์ โดยการปิดโรงงานครั้งนี้ คาดว่า จะส่งผลกระทบต่อพนักงานประมาณ 250 คนโรงงาน Sta. Rosa ของฟอร์ดนี้ เริ่มดำเนินการประกอบรถยนต์เมื่อปี 2552 โดยผลิตรถยนต์หลายรุ่น ตั้งแต่ Ford Lynx และอื่นๆ และฟิลิปปินส์เป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์ของบริษัทฟอร์ดในภูมิภาคอาเซียน โดยมียอดส่งออกกว่า 80,000 คัน มูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฟอร์ดจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศไทย เนื่องจากมีความพร้อมในด้านต่างๆ และมีตลาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่เล็กเกินไป ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูง ไม่คุ้มต่อการลงทุน การปิดโรงงานในครั้งนี้เป็นนโยบายการบริหารของบริษัทที่ต้องการลดค่าใช้จ่าย และต้องการปรับการทำตลาดในฟิลิปปินส์โดยการนำเข้าแทน โดยจะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและประกอบรถฟอร์ดของภูมิภาคอาเซียนแทนฟิลิปปินส์ เช่น สเปน เยอรมันนี สเปน อาร์เจนตินา ไต้หวัน รัสเซีย จีน
SPONSORED LINKS
Off-Shoring And Low Cost Sourcing กรณีศึกษา การย้ายฐานการผลิต ไปยังแหล่งต้นทุนต่ำ กรณีศึกษา ฟอร์ด เตรียมปิดโรงงานการผลิตในฟิลิปินส์ ปีหน้าย้ายการผลิตมาไทย การย้ายฐานการผลิต การย้ายฐานการผลิต (Off-Shoring And Low Cost Sourcing) บริษัทฟอร์ด ฟิลิปปินส์
2015-06-24