การศึกษาอิทธิพลของตลาดที่ไม่สมดุล (Leverage Market Imbalances) หมายถึง การเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้า ในแต่ละพื้นที่รวดเร็วไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับของอุปสงค์และอุปทานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหากทำการศึกษาราคาสินค้า ครอบคลุมหลายพื้นที่ ก็อาจได้ประโยชน์จากการสั่งซื้อวัตถุดิบ/ชิ้นส่วน ได้ในราคาที่ต่ำกว่าได้ เหตุการณ์ลักษณะนี้ จะเห็นบ่อยมากในกรณีที่สินค้ามีราคาเปลี่ยนแปลงผันผวน เช่น สินค้าเกษตร เป็นต้น
ตัวอย่างกรณีศึกษา “อิทธิพลของตลาดที่ไม่สมดุล”
กรณีศึกษา ยางพารา จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ปลูกมาก จึงเกิดสภาพปัญหาผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด และปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าพื้นที่อื่น รวมถึงผลกระทบจากตลาดรับซื้อที่สำคัญในละแวกเพื่อนบ้านที่มีการกำลังขยายพื้นที่การเพาะปลูก จึงทำให้ผลผลิตยางพารา มีราคาตกต่ำ รวมถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการที่จะเพิ่มมูลค่าของยางพารา
ปัจจัยที่มีผล
- การเปลี่ยนแปลงด้านการผลิต
- ลักษณะการผลิตและการจำหน่ายของเกษตรกร
- รสนิยมและความต้องการของผู้บริโภค
- ทัศนคติและค่านิยมของผู้บริโภค
- การแทรกแซงของรัฐบาล
- การเปลี่ยนแปลงของระบบตลาด
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาอิทธิพลของตลาด
- ได้สินค้าเกษตรที่มีราคาถูก
- ได้รับสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ
- สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้